Covid-19 : 4 สายพันธุ์อันตราย

Covid-19 เป็นโรคติดต่อที่เกิดจาก coronavirus ที่ค้นพบล่าสุด ไวรัสและโรคที่เกิดขึ้นใหม่นี้ไม่เป็นที่รู้จักอย่างสมบูรณ์ จะมีการระบาดในหวู่ฮั่น ประเทศจีน ในเดือนธันวาคม 2019 ขณะนี้ Covid-19 มีการระบาดใหญ่ในวงกว้างที่ส่งผลกระทบต่อหลายประเทศในโลก

การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2) เกิดจากการสัมผัสละอองหรือสารคัดหลั่งจาก ระบบทางเดินหายใจ จากผู้ป่วยโรคโควิด-19 เช่น ละอองฝอยเมื่อไอหรือจาม การสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นเมือก น้ำลาย หรือเสมหะ สัมผัสกับการติดเชื้อบนพื้นผิวของวัตถุและอุปกรณ์ รวมทั้งทำให้ไวรัสแพร่ระบาดในอากาศ

เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ผู้ติดเชื้ออาจมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้ และความรุนแรงของอาการอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานะสุขภาพของผู้ติดเชื้อแต่ละราย ผู้ป่วยที่เป็นโรคพื้นเดิมมักจะมีอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ในผู้ป่วยที่มีอาการ อาการเหล่านี้มักพบ ได้แก่ ไอ เจ็บคอ มีไข้ อ่อนเพลียตามร่างกาย และหายใจไม่ออก

 

ทำความรู้จัก “ชื่อใหม่” ไวรัส Covid-19 กลายพันธุ์

 

องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้เปลี่ยนชื่อเรียกไวรัส Covid-19  กลายพันธุ์ จากเดิมที่เรียกตามชื่อประเทศเป็นอักษรกรีก เพื่อลดการกล่าวโทษประเทศที่พบครั้งแรก สายพันธุ์น่าวิตก 4 สายพันธุ์ (Varients of Concern) ไวรัสโควิด-19 ถูกดัดแปลงพันธุกรรมหรือที่เรียกว่ามิวแทนท์ ปัจจุบัน WHO ได้ระบุการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 ถึง 12 ครั้ง และมีแนวโน้มว่าจะเกิดการกลายพันธุ์มากขึ้นเช่นเดียวกับการระบาดของไวรัสอื่นๆ สาเหตุของความกังวลคือ Delta, Alpha, Gamma, Beta ที่มาของความกังวลมีดังนี้

 

  • 🇺🇸 สายพันธุ์อัลฟ่าตรวจพบเป็นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร
    ข้อกังวล: นี่คือสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม
  • 🇿🇦 ตรวจพบสายพันธุ์เบต้าเป็นครั้งแรกในแอฟริกาใต้
    ข้อกังวล: อาจทำให้เจ็บป่วยหรือเสียชีวิตได้มากกว่าพันธุ์เดิม
  • 🇮🇳 ตรวจพบสปีชีส์เดลต้า (เดลต้า) เป็นครั้งแรกในอินเดีย
    ข้อกังวล: นี่คือสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม และตอนนี้พบว่าการแพร่ระบาด ในประเทศไทย
  • 🇧🇷 ตรวจพบสายพันธุ์แกมมาครั้งแรกในบราซิล
    ข้อกังวล: นี่คือสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม และประสิทธิภาพทางภูมิคุ้มกันของวัคซีนต้านสายพันธุ์นี้จะลดลง

 

แต่แล้วไวรัสโควิด-19 แต่ละสายพันธุ์ล่ะ ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ล่ะ? หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังคงศึกษาและแสวงหาแนวทางในการป้องกันไวรัสทุกประเภท วิธีป้องกันตนเองและคนรอบข้าง คือ ใส่หน้ากาก ล้างมือด้วยสบู่ และแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่สัมผัส หลีกเลี่ยงการจับตา จมูก ปาก เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ชื่อใหม่ของ coronavirus mutant นั้นไม่สามารถแทนที่ชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ได้ แต่เป็นชื่อที่อำนวยความสะดวกในการสื่อสาร เนื่องจากชื่อทางวิทยาศาสตร์อาจสื่อสารได้ยาก และอาจก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการสื่อสาร นอกจากนี้ยัง ลดการปฏิบัติหรือตีตราประเทศที่พบการกลายพันธุ์ของ COVID-19 เป็นครั้งแรก

 

สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha)

 

 

รหัสไวรัส: B.1.1.7

โควิดสายพันธุ์อัลฟ่า หรือ สายพันธุ์อังกฤษ พบครั้งแรกที่เมืองเคนต์ในประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563 ก่อนจะเข้ามาระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นเดือนมกราคม 2564 และ แพร่ระบาด อย่างหนักจากคลัสเตอร์ทองหล่อ ปัจจุบันเป็นสายพันธ์ุหลักที่ระบาดไปแล้วกว่า 138 ประเทศทั่วโลก เนื่องจากสายพันธุ์นี้แพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่นมากถึง 40-70% และยังหลบหลีกภูมิคุ้มกัน ได้ดี ทำให้มีอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตสูงขึ้นถึง 30%

อาการเบื้องต้นของโควิดสายพันธุ์อัลฟ่า

  • มักมีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ไอ เจ็บคอ
  • มีน้ำมูก
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยร่างกาย
  • หนาวสั่น
  • หายใจหอบเหนื่อย
  • อาเจียนหรือท้องเสีย
  • การรับรสหรือได้กลิ่นผิดปกติ

 

สายพันธุ์เบต้า (Beta)

 

 

รหัสไวรัส: 501Y.V2 หรือ B.1.351

โควิดสายพันธุ์เบต้า หรือ สายพันธุ์แอฟริกา พบครั้งแรกในอ่าวเนลสันแมนเดลา เมืองอีสเทิร์นเคปของแอฟริกาใต้เมื่อเดือนตุลาคม 2563 พบครั้งแรกในไทยที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 สำหรับสายพันธุ์เบต้าพบว่ามีอัตรา แพร่ระบาด ไวขึ้น 50% จากสายพันธุ์เดิม อีกทั้งมีการ กลายพันธุ์ ในตำแหน่งสำคัญ ระบบทางเดินหายใจ  จึงทำให้เชื้อไวรัสมีความสามารถในการ หลบหลีกภูมิคุ้มกัน ที่ร่างกายสร้างขึ้น ดังนั้น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันหรือเคยติดเชื้อแล้วก็จะยังสามารถติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์นี้ซ้ำได้อีก

อาการเบื้องต้นของโควิดสายพันธุ์เบต้า

  • เจ็บคอ
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยร่างกาย
  • ท้องเสีย
  • ตาแดง
  • การรับรสหรือได้กลิ่นผิดปกติ
  • มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
  • นิ้วมือหรือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี

สายพันธุ์เดลต้า (Delta)

 

 

รหัสไวรัส: 501Y.V2 หรือ B.1.351

โควิดสายพันธุ์เบต้า หรือ สายพันธุ์แอฟริกา พบครั้งแรกในอ่าวเนลสันแมนเดลา เมืองอีสเทิร์นเคปของแอฟริกาใต้เมื่อเดือนตุลาคม 2563 พบครั้งแรกในไทยที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 สำหรับสายพันธุ์เบต้าพบว่ามีอัตราการ แพร่ระบาด ขึ้น 50% จากสายพันธุ์เดิม อีกทั้งมีการ กลายพันธุ์ ในตำแหน่งสำคัญ จึงทำให้เชื้อไวรัสมีความสามารถในการ หลบหลีกภูมิคุ้มกัน ที่ร่างกายสร้างขึ้น ดังนั้น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันหรือเคยติดเชื้อแล้วก็จะยังสามารถติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์นี้ซ้ำได้อีก

อาการเบื้องต้นของโควิดสายพันธุ์เบต้า

  • เจ็บคอ
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยร่างกาย
  • ท้องเสีย
  • ตาแดง
  • การรับรสหรือได้กลิ่นผิดปกติ
  • มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
  • นิ้วมือหรือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี

 

สายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron)

 

 

รหัสไวรัส: B.1.1.529

Covid-19  โอไมครอน หรือ โอมิครอน คือ โควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ล่าสุดที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) ถูกค้นพบครั้งแรกในแถบแอฟริกาใต้ในช่วงสิ้นปี 2564 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมี แพร่ระบาด ไปหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยที่มีอัตราการระบาดค่อนข้างรวดเร็วหลังพบผู้ติดเชื้อชาวอเมริกันที่บินจากสเปน แวะดูไบ ก่อนเข้าไทยเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 โดยสายพันธุ์นี้มีการกลายพันธุ์ส่วนโปรตีนหนามมากถึง 32 ตำแหน่ง ทำให้สามารถหลบหลีกภูมิต้านทานได้มากขึ้น เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ส่งผลต่อการลดประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีอยู่ปัจจุบันอย่างมาก และมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการกลับมาติดเชื้อซ้ำเพิ่มขึ้น แต่ผู้ป่วยมักติดเชื้อในลักษณะที่เป็นระบบทางเดินหายใจส่วนบน ไม่ลงปอด จึงทำให้มีอาการป่วยไม่รุนแรงมาก

อาการเบื้องต้นของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน

  • จมูกยังสามารถได้กลิ่น
  • ลิ้นรับรสได้ดี
  • ไม่ค่อยมีไข้
  • ไอมาก
  • มีอาการเจ็บคอ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปอดอักเสบ

บทความแนะนำ